Disaster forum, February 27-29,2016 Yamagata, Japan

นพ.รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี รพ.ขอนแก่น









27 กุมภาพันธ์ 2559



         เดินทางจากประเทศไทย ถึงกรุงโตเกียว  ประเทศญี่ปุ่น ได้มีโอกาสเยี่ยมสำนักงานใหญ่ JICA แต่เนื่องจากเป็นวันหยุดไม่มีคนมาทำงาน หลังจากนั้นเดินทาง ด้วยรถไฟหัวกระสุน จากโตเกียวไปเมืองยามากาตะ














28 กุมภาพันธ์ 2559










         เข้าร่วมประชุมโดยวิทยากรจากไทยที่ได้บรรยายมี 3 ท่าน นพ.ภูมินทร์  (รองเลขา สพฉ.) นพ.ประสิทธิ์ (หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน มอ.) โดยทั้งสองท่านได้พูดถึงแนวทาง นโยบายในการร่วมมือกันระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่นในการออกตอบโต้ภัยพิบัติร่วมกัน โดยใช้เหตุการณ์ตอนที่ทั้งสองประเทศไปประเทศเนปาลเป็นบทเรียนและถอดบทเรียน ค้นหาอุปสรรค, good practice และทำแนวทางเพื่อปฏิบัติการร่วมกัน จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ทราบว่า แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นเองซึ่งมีชื่อเสียงมากในด้านการจัดการภัยพิบัตินั้นก็ส่วนมากทำในประเทศ สำหรับการออกช่วยเหลือต่างประเทศที่ผ่านมาก็ออกไปได้แค่เป็นการดูแลผู้ป่วยนอก (นิยามของเขาคือ Disaster relief team type I มีเจ้าหน้าที่รวม 23 คน คล้าย MERT ) แต่การไปเนปาลรอบนี้ของญี่ปุ่นนั้นเป็นครั้งแรกที่ไปตั้ง รพ.สนาม ณ ต่างประเทศ (Disaster relief team type II มี จนท 69 คน สามารถผ่าตัดและดูแลหลังผ่าตัดได้ แต่ไม่ได้บอกว่ารับได้กี่เตียง)  

         Japan Disaster relief team 
นั้นประกอบไปด้วย rescue team และ medical team ซึ่งมุ่งทำงานในช่วง acute phase (1-2 week) เท่านั้น แต่ในหตุการณ์ที่เนปาลครั้งนี้ญี่ปุ่นก้ได้เห็นถึงการทำงานของประเทศไทยที่มีความต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือทั้ง acute >> latent >>recovery phase  จึงขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการด้านสาธารณสุขมูลฐาน 

ผมจึงได้โอกาสมานำเสนอผลการดำเนินงานด้านการจัดการสุขาภิบาลเพื่อป้องกันโรคที่ตามมาจากภาวะภัยพิบัติ   ประกอบไปด้วยการจัดการเรื่องการลดการปนเปื้อนของสิ่งขับถ่ายลงแหล่งน้ำ การกรองน้ำ การตรวจคัดกรองภาวะ post-traumatic stress disorder และการให้สุขศึกษา หลังจากจบการบรรยายก็มีช่วงสนทนาบนเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหารือเรื่องความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นในการออกตอบโต้สาธารณภัยร่วมกันต่อไป

ข้อดีในการร่วมกันคือสามารถขยายการดูแลประสบภัยได้ครอบคลุมและไม่ทับซ้อน อีกทั้งสามารถวางแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยะหว่างกันตามศักยภาพของหน่วยปฏิบัติการได้

















        ปัจจุบันประเทศไทยโดย สพฉ. ได้ทำสัญญาร่วมกับ JICA ในโครงการความร่วมมือต่อต้านภัยพิบัติระหว่างกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศญี่ป่นในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันยามเกิดภัยพิบัติหรือการออกช่วยประเทศอื่นๆ โดยมีแผนจะพัฒนา disaster relief team ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และพัฒนา disaster relief team ของประเทศอื่นๆใน เอเซียตะวันอกเฉียงใต้โดยมีประเทศไทยเป็นแกนกลางในการประสานและฝึกอบรมแก่ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   ในระยะ 3 ปีแรกมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความเข้าใจในการจัดการภัยพิบัติแก่ผู้บริหารประเทศเพื่อการผลักดันเชิงนโยบาย ให้ความรู้และฝึกฝนหน่วยปฏิบัติการให้มีความชำนาญในการจัดการเหตุภัยพิบัติ ซึ่งทั้งสองอยางนี้จะนำไปสู่การสร้างระบบและเกิดแนวทางในการประสานปฏิบัติการร่วมกันระหว่างประเทศอย่างชัดเจนแบบรัฐต่อรัฐ
เป็นความโชคดีที่ ผอ.สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน(นพ.อนุรกษ) ได้สละเวลามาร่วมสัมนาในครั้งนี้และให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับกระทรวงสาธารณสุขต่อไป



       ภาคบ่าย เข้าเยี่ยมและศึกษา รพ.ประจำจังหวัดยามากาตะ เยี่ยมชมห้องฉุกเฉิน ICU CCU HCU (high care unit) แต่เนื่องจากเป็นจังหวัดเล็ก จำนวนผู้ป่วยน้อย(ผู้ป่วยฉุกเฉิน 10,000 คนต่อป) น้อยกว่ารพ.ขอนแก่น 10 เท่า สิ่งที่โดดเด่นคือมี DR.heli ออกปฏบัติการ 400 ครั้งต่อปี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสูง เรื่องอื่นๆก็ได้ตามมาตรฐานไม่แตกต่างประเทศไทยมากนัก



















29 กุมภาพันธ์ 2559







          เดินทางกลับโตเกียวเข้าศึกษาคลังสาธารณภัยของ Japan disaster relief team ซึ่งเช่าโกดังอยู่ใกล้กับสนามบินนาริตะ มีอุปกรณ์พร้อมออกตอบโต้สาธารณภัยทันทีโดยอุปกรณ์ทั้งหมดเพียงพอสำหรับการออกตอบโต2 สัปดาห์ ซึ่งผู้บิหารจาก สธฉ สพฉ และสภากาชาด ก็เห็นพ้องกันว่าทั้งสามหน่วยงานควรร่วมมือกันผลักดันให้เกิดคลังสาธารณภัยในประเทศไทยด้วย ตรงนี้ก็เป็นโจทย์ที่สำคัญที่ผู้บริหารทั้งสามจะมาผลักดันต่อไป  
       หลังจากเยี่ยมชมคลังสาธารณภัย ตอนเย็นก็ประชุมกับผู้บริหาร JICA ในการวางแผนงานขับเคลื่อนโครงการตามกำหนดเวลาและกรอบที่วางไว้จน 19.00 ของโตเกียวจึงเสร็จภารกิจได้ออกมากินราเมนต่อแถว แล้วเตรียมตัวเก็บกระเป๋ากลับประเทศไทย    ซาโยนาระ  โตเกียว .........

  

























แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000