Good practice ; Fast track systems


 


      การทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยเป็นหัวใจหลักของการทำงานในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ดังนั้นแม้ว่าจะมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยหายเจ็บป่วย มีอาการดีขึ้น หรือได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานแล้วก็ตามแต่โรคหรือความเจ็บป่วยบางประเภทยังต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วนและทันท่วงทีเพราะมีอุบัติการณ์การเกิดทุพพลภาพหรืออัตราตายสูง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองหรืออุบัติเหตุต่างๆโรคดังกล่าวไม่เพียงมีอัตราการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพสูงติดอันดับต้นๆของจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น แต่ยังติดอันดับสูงสุดของประเทศไทยด้วย ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุ ที่มีผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลล่าช้า เนื่องจากสาเหตุความไม่รู้หรือไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ  ดังนั้นถ้าเรามีการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้นในโรคดังกล่าว  จะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตลงได้หรือเกิด ภาวะทุพพลภาพน้อยที่สุด

 
       การให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยดังกล่าวจากสถานบริการทางด้านการแพทย์ทุกระดับ  ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องมีการติดต่อประสานงานร่วมกันของสถานบริการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษา อย่างถูกต้องทั่วถึงและต่อเนื่อง ห้องอุบัติแหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่นได้มีการพัฒนาระบบเชื่อมประสานระหว่างสถานบริการแต่ละระดับในการส่งต่อผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ
มีความเอื้ออาทรต่อกันและมีการวางระบบการส่งกลับเพื่อการดูแลรักษาต่อเนื่องอย่างมีระบบ  มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัย เกิดความประหยัดและลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพของสถานบริการระดับต่างๆร่วมกันให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด



แนวทางการให้การดูแลรักษาโรคหัวใจขาดเลือด (AMI fast track) เริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ต่อมาได้มีการรวมกับแนวทางการดูแลรักษาโรคสมองขาดเลือดและแนวทางการดูแลผู้บาดเจ็บเข้ามารวม กันเป็น Motorway fast track หรือเรียกว่า ระบบทางด่วนพิเศษเพื่อรองรับการดูแลผู้บาดเจ็บ โรคหัวใจ-สมองขาดเลือดในปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา โดยภารกิจดังกล่าวทั้งหมดได้รับนโยบายและการเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงทั้งของโรงพยาบาลขอนแก่น, กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาตสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาระบบและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ติดตามประเมินผลเพื่อปรับระบบ ขยายผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของเครือข่ายโดยมีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและพอเพียงร่วมด้วย

ผลการดำเนินงาน  ระบบทางด่วนพิเศษเพื่อรองรับการดูแลผู้บาดเจ็บ โรคหัวใจ-สมองขาดเลือด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ที่ผ่านมาพบว่า เป็นที่น่าพอใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำงาน ทุกอย่างทุกขั้นตอนไม่ได้อาศัยเพียงแต่แพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเท่านั้น แต่ระบบทางด่วนพิเศษนี้ ต้องอาศัยด่านสำคัญ 5 ด่านด้วย ได้แก่ ด่านชุมชน ด่านบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด่านโรงพยาบาลชุมชน ด่านการส่งต่อผู้ป่วย และด่านการดูแลในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลขอนแก่นเอง ก่อนที่ทั้งสามกลุ่มโรคจะได้รับการดูแลรักษาเฉพาะจากแพทย์เฉพาะทางแต่ละโรคต่อไป



1. STEMI Fast track 

       เดิม
เป็น Fast track ที่ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก  ตั้งแต่ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้ส่งต่อมายังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ในการรักษาไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลขอนแก่น (กรณีผู้ป่วยอาการคงที่) หรือศูนย์หัวใจสิริกิติ์ (กรณีผู้ป่วยอาการไม่คงที่) ให้มีความสะดวกรวดเร็วและได้รับยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ภายในเวลา 12 ชั่วโมงหรือได้รับการทำหัตถการที่เหมาะสม 
นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน
2555 เป็นต้นมา  โรงพยาบาลขอนแก่นได้เปิดให้บริการห้องตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดทำให้สามารถให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้โดยไม่ต้องส่งต่อไปยังศูนย์หัวใจสิริกิติ์เหมือนที่ผ่านมา





2. Stroke Fast track


       ให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการอัมพาตทันที เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง ให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Brain ) ที่รวดเร็วและได้รับยา r-tPA ให้ทันท่วงที ในผู้ป่วยอัมพาตชนิดสมองขาดเลือดให้กลับมามีการใช้ชีวิตปกติได้มากที่สุด



3. Trauma Fast track

ให้บริการผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บที่มี Penetrating injury หรือ Vascular injury หรือ Stabing injury ร่วมกับภาวะ Unstable vital sign โดยมีการประสานงานผ่าน ER call center ซึ่งจะประสานงานกับทีมแพทย์ศัลยกรรมอุบัติเหตุโดยตรงเพื่อให้สามารถนำส่งผู้บาดเจ็บมายังห้องฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยและจะมีการประสานงานกับห้องผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ในกรณีผู้ป่วยต้องได้รับการ ผ่าตัดอย่างเร่งด่วนทันทีที่มาถึงโรงพยาบาลขอนแก่น




4. Pediatric Fast track

         เป็น Fast track เด็กวิกฤต สำหรับผู้ป่วยกลุ่มทารกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทารกที่มีภาวะ shock ผู้ป่วยจมน้ำ ผู้ป่วยเด็กวิกฤตอื่นๆ โดยประสานงานกับกุมารแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น ผ่าน ER Call center และเมื่อผู้ป่วยมาถึงแพทย์เวรห้องฉุกเฉินจะทำการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนจะนำสางผู้ป่วยไปส่งที่ตึกกุมารเวชกรรม


5. High risk pregnancy Fast track


6. Severe Sepsis and Septic shock Fast track

7. Severe  Head injury Fast track

8. Cervical Spine Fast track














แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000