สำหรับปี 2562 นี้ ทาง "พี่ตูน" และมูลนิธิก้าว
ได้จัดกิจกรรมการวิ่ง ในโครงการ "วิ่งก้าวคนละก้าวก้าวต่อไปด้วยพลังเล็กๆ
" จำนวน 5 ภาค
เพื่อให้การช่วยเหลือโรงพยาบาลเล็กๆในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
ภาคอิสานเป็นภาคแรกที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน
2562 จากด่านพรมแดนจังหวัดหนองคายสู่ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ระยะทางรวมประมาณ 180 กม.
โรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง ประกอบด้วย
- รพ.นาวังเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา จ.หนองบัวลำภู
- รพ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ
- รพ.สระไคร จ.หนองคาย
- รพ.สังคม จ.หนองคาย
- รพ.หนองหาน จ.อุดรธานี
- รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
- รพ.ขอนแก่น 2 จ. ขอนแก่น
- รพ.พล
จ. ขอนแก่น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
โรงพยาบาลขอนแก่น
ได้มอบหมายให้ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัดร่วมกับกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการระบบการรักษาพยาบาลและการจัดการรถพยาบาลให้กับทีมวิ่งและประชาชนที่เข้าร่วม ครั้งนี้
ซึ่งทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินได้มีการประชุม เตรียมความพร้อมในการจัดการระบบครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย
- ทีมผู้ประสานงาน ประกอบด้วย แพทย์EP1 คน Resident 1 คน พยาบาล 1 คน
paramedic 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน จำนวน 2
ทีม มีภารกิจประสานงานระหว่าง ambulance กับโรงพยาบาลเครือข่ายระหว่างทางหรือหน่วยงานอื่นๆ
เดินทางด้วย Ambulance No. 24 ตั้งแต่เริ่มการวิ่งที่ด่านพรมแดนหนองคาย
จนกระทั่งสิ้นสุดการวิ่ง ที่ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
- ทีมแพทย์อำนวยการ (พอป.) ประกอบด้วย แพทย์ 2 คน พยาบาล 1 คน มีภารกิจวางแผนการปฏิบัติงาน ทั้งด้าน บุคลากร ทรัพยากรและออกแบบระบบการปฏิบัติการ
ให้การปรึกษาการปฏิบัติการของ ambulance ทุกระดับ
และทีมผู้ประสานงาน ตลอดจนแก้ปัญหาและรายงานผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติงานที่ CCC
รพ.ขอนแก่น
- ทีมปฏิบัติการ
Ambulance ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน พยาบาลหรือ paramedic
1 คน นักกายภาพบำบัด 1 คน AEMT 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน ปฏิบัติงานด้วย ติดตามขบวน
ตามระยะที่ได้รับมอบหมาย ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ พิจารณาการรักษาและนำส่งตามคำสั่งของแพทย์อำนวยการ
(พอป.)
- จุดกายภาพบำบัด ประกอบด้วย พยาบาล 1 คน นักกายภาพบำบัด 3-5 คน มีภารกิจให้การช่วยเหลือผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งตามความเหมาะสม
ตามการมอบหมาย
การประสานงานและการสื่อสาร
การประสานงานในงานวิ่งครั้งนี้
ใช้การสื่อสารด้วยวิทยุระบบ digital ที่มี GPS
ติดตามตำแหน่งที่อยู่ตลอด
เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากบริษัท Tely 360 นำมาใช้
เป็นช่องทางหลัก โดยมีแม่ข่ายและศูนย์ควบคุมอยู่ที่ศูนย์สั่งการและรับแจ้งเหตุ 1669
โรงพยาบาลขอนแก่น นอกจากนี้ยังใช้ช่องทางอื่น
- วิทยุสื่อสารระบบ Analog
เป็นระบบสำรอง ด้วยคลื่นช่องความถี่พิเศษ ที่ไม่รบกวนการทำงานปกติ
- การแจ้งเหตุระบบปกติ
1669
- โทรศัพท์มือถือ สายตรง
- Line Application
กรณีที่มีเหตุเกิดขึ้น มีผู้แจ้งผ่านระบบ1669
ศูนย์สั่งการจังหวัดนั้นๆ จะแจ้งศูนย์สั่งการจังหวัดขอนแก่น ด้วยวิทยุ หลังจากนั้นศูนย์สั่งการจังหวัดขอนแก่นจะสั่งการไปที่รถ
Ambulance เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือ
ส่วนการควบคุมสั่งการ ใช้ระบบแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน
(พอป.) ของโรงพยาบาลขอนแก่น
โดยให้ทีมร่วมปฏิบัติการทุกทีมขึ้นตรงต่อแพทย์อำนวยการ ผ่านระบบสื่อสารที่เตรียมไว้
นอกจากนี้ยังมีการ Set up ระบบ EOC เผื่อเกิดกรณีเหตุฉุกเฉินสาธาณภัย
ระบบส่งต่อผู้ป่วย
หากทีมรักษาพยาบาลพบผู้ป่วยว่าเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย
ให้รักษาพยาบาลตามความเหมาะสม หากจำเป็นต้องส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล
แพทย์อำนวยการจะออกคำสั่งเลือกรถ Ambulance ที่เหมาะสม
ไปส่งผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่ ใกล้และมีศักยภาพเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ
มากที่สุด เมื่อส่งต่อผู้ป่วยแล้ว ให้ Ambulance ดังกล่าวกลับเข้าสู่ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายเดิม
ต่อไป
ส่วนการวิ่งในเมืองระยะทาง 11 กิโลเมตร ในวันที่ 16 มิถุนายน 62 ในช่วงบ่ายนั้น
ได้มีการตั้งจุดปฐมพยาบาล และจุดกายภาพบำบัด ทุก 2 กิโลเมตร
และที่จุด Finish ให้การดูแลผู้ที่เข้าร่วมการวิ่งครั้งนี้
ส่วนระบบบัญชาการ คงยังใช้แพทย์อำนวยการ (พอป.)
เป็นผู้ออกคำสั่ง เช่นเดิม
ได้รับการสนับสนุนทีมปฏิบัติการ Ambulance
และทีมกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลพล กระนวน น้ำพอง เขาสวนกวาง พระยืน บ้านไผ่ ชุมแพ หนองเรือ โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย
โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น โรงพยาบาลราชพฤกษ์ โรงพยาบาลขอนแก่นราม นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนที่ดียิ่งจากโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร์และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในการตั้งจุดปฐมพยาบาลและ
Ambulance
สรุป บทเรียนและความประทับใจ
หลังจากการปฏิบัติการเสร็จสิ้น
ได้มีการสรุปและทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ปรับปรุงสำหรับงานต่อไป พบว่า
- แพทย์อำนวยการ ปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการประสานงาน
อุปสรรคที่เกิดขึ้นในหน้างาน
- เทคโนโลยี ทั้งภาพและเสียง
ที่รวดเร็วส่งผลทำให้มีการตัดสินใจในการรักษา
- การสื่อสารเพียงช่องทางเดียว
ทำให้เกิดความแออัดในการสื่อสาร
- ในการวิ่งระยะสั้น ในจังหวัด
มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ส่งผลต่อการดูแล
ระยะทางที่ห่าง 4-5 กม. ข้อเสนอแนะใช้
มอเตอร์ไซด์พยาบาลช่วยได้มากในการตรวจสอบ เข้าถึง ระบบบริการ
- การจัดการระบบที่ดี ส่งผลต่อช่องทางการเรียกใช้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
- สเปรย์
ไม่เพียงพอ เนื่องจาก นักวิ่ง รายใหม่ ไม่มีการเตรียมตัว
ส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ
- ห้องฉุกเฉิน ควรมีการจัดแบ่ง
พื้นที่ในการดูแล ผู้บาดเจ็บจากงานวิ่ง เนื่องจาก โรคลมแดด ต้องการการประเมิน
ดูแลอย่างใกล้ชิด
- ความสมัครสมานสามัคคี ของเครือข่าย การประสานงาน
ด้วยความมุ่งมั่น จุดหมายเดียวกัน ทำให้เราผ่าน วิกฤตไปได้ด้วยดี
|