การปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ  29 มกราคม 2562





        ภายหลังที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ระบุ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ มรณภาพ หรือพระเทพวิทยาคม มรณภาพ  เมื่อเวลา11:45 น. วันที่ 16 พ.ค. 2558    สิริรวมอายุ 92 ปี พรรษา 70 โดยก่อนหน้านี้หลวงพ่อคูณ เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ด้วยภาวะหยุดหายใจ ปอดรั่ว ที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา คณะแพทย์ของโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา และคณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชดูแลอาการอย่างใกล้ชิด จนต่อมาอาการอาพาธทรุดหนัก แพทย์ต้องฟอกไตและปั๊มหัวใจหลายครั้ง และมรณภาพในที่สุด

        หลังจากมรณภาพ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำสรีระสังขารของหลวงพ่อมาทำการเตรียมเพื่อใช้เป็นครูใหญ่ ตามพินัยกรรมของหลวงพ่อ  ให้นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาสาขาวิชาต่างๆด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ศึกษากายวิภาค  เมื่อครบกำหนด 2 ปี ทางคณะคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ และพระราชทานเพลิงพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ)  ซึ่งกำหนดจัดขึ้นวันอังคารที่ 29 มกราคม 2562 สถานที่ พุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น โดยกำหนดพิธีบำเพ็ญกุศลฯ วันอังคารที่ 22 มกราคม 2562 ถึง วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562 สถานที่ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ทางคณะผู้จัดงาน คือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้สถานที่เดิม คือ วัดหนองแวงพระอารามหลวงนั้น ไม่สามารถรองรับศิษยานุศิษย์จำนวนหลายแสนคนได้ และมีมติเห็นพ้องให้สร้างเมรุลอยชั่วคราวของวัดหนองแวงพระอารามหลวง ณ บริเวณพื้นที่พุทธมณฑลอีสาน บ้านเต่านอ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีอาณาบริเวณกว้างขวาง

         ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านการปฏิบัติการแพทย์  เพื่อรองรับผู้ที่มาร่วมงานปริมาณมาก ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ประสานงานเพื่อให้ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น  เพื่อวางแผนปฏิบัติงานและร่วมปฏิบัติการ  ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์  โดยวัตถุประสงค์นั้น จะให้การดูและผู้ป่วยฉุกเฉิน ในพื้นที่พุทธมณฑล และบริเวณที่มีประชาชนเข้าร่วม หรือชุมชนใกล้เคียง  ตลอดจนให้การดูแลบุคคลสำคัญ ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขณะเข้าร่วมพิธี ด้วยการประสานงานหรือปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่พิธี


จากความร่วมมือหลายๆ ฝ่าย แผนการแพทย์ฉุกเฉินได้ถูกกำหนดขึ้นและควบคุมการปฏิบัติการโดย นายแพทย์วีรศักดิ์  พงษ์พุทธา และคณะ ซึ่งแผนปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ


  1. แผนการแพทย์ฉุกเฉินในงานพิธี

มีการเตรียมทีม EMS (รถ Ambulance ระดับสูง (Advance) พร้อมบุคลากร)  4 จุด และมี Motorlance 3 จุด มีหน้าที่ ให้การรักษา ลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่งโรงพยาบาล 

จุดบริการพยาบาล (จาก รพ.ศรีนครินทร์ และ สสจ.ขอนแก่น) และทีมกำลังพลทหารเดินเท้าเคลื่อนที่เร็ว อาสาฉุกเฉินการแพทย์ จาก รพ.ค่ายศรีพัชรินทร์ และ มทบ.23 ตลอดจน ทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากมูลนิธิในพื้นที่

จุดแพทย์อำนวยการ (พอป.)  มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการควบคุมการสื่อสาร  และสั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ภายในพื้นที่พิธี  ประสานงานกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินปกติ (1669) เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมและประสานกับทีมสื่อสารสั่งการอื่นๆ ในกองอำนวยการร่วม เช่น ตำรวจ ท้องถิ่น ปภ. ทหาร เป็นต้น

  1. แผนการแพทย์ฉุกเฉินภายนอกพิธี  เป็นการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  เพื่อรองรับเหตุ  สาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากการชุมนุมของคน ปริมาณมาก  และการเดินทางเข้าออกของยวดยานพาหนะ ตลอดจนการเจ็บป่วยของประชาชนของจังหวัด ประกอบด้วย  การจัดตั้ง EOC และการทำงานงานของศูนย์สั่งการและรับแจ้งเหตุจังหวัดขอนแก่นด้วย




Download  click



 

การเตรียมการก่อนการปฏิบัติงาน  
 
 
  
   
การปฏิบัติงาน วันที่ 29 มกราคม 2562


  
  
  
  
  
  
  
   
  






กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 5 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000