|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Good practice ; In situ Excercise
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในห้องตรวจฉุกเฉินแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความรุนแรงของอาการ
โดยกลุ่มผู้ป่วยประเภทหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินทุกแห่งมีโอกาสได้ช่วยเหลือ
คือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น
เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
โอกาสที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตรอดยิ่งมากขึ้น
การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรต่างๆ
ทั้ง แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กู้ชีพ ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงาน
ดังนั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง
และมีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นประจำก็จะช่วยให้การช่วยฟื้นคืนชีพทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จึงเป็นที่มาของการฝึกซ้อมการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ ให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
| - ประเมินทักษะของบุคลากร ผู้ปฏิบัติงาน ณ ห้องฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น
- เป็นการฝึกซ้อมการทำงานร่วมกันเป็นทีม ระหว่างแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่กู้ชีพ ในการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างสม่ำเสมอ
- ทบทวนความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ปฏิบัติงาน
- วางแผน จัดวางตำแหน่งการทำงานที่เหมาะสมในการช่วยฟื้นคืนชีพ
|
|
|
|
|
|
|
|
| ขั้นตอนการดำเนินงาน |
|
|
|
|
|
|
|
| - สร้างสถานการณ์สมมติโดยอาจารย์แพทย์ประจำกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โดยใช้หุ่นจำลองเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น
ซึ่งสามารถกำหนดสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ฝึกฟื้นคืนชีพ
โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการฝึกซ้อม
กระบวนการการช่วยฟื้นคืนชีพนั้นให้ปฏิบัติเหมือนการช่วยผู้ป่วยจริง
- อาจารย์แพทย์ หัวหน้าพยาบาลและรองหัวหน้างานอุบัติฉุกเฉินร่วมกันประเมินประสิทธิภาพการช่วยฟื้นคืนชีพ
- หลังจบการฝึกซ้อมจะมีการประเมินผล ประเมินปัญหาต่างๆ
และหาแนวทางแก้ไข
ให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติการเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกต้อง
|
|
|
|
|
|
|
|
| การฝึกซ้อม
Scenario in situ จะทำทุก 2 เดือน ซึ่งในแต่ละครั้งผู้ประเมิน
ได้พบปัญหาต่างๆ ในกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพหลายๆ ประเด็น
ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำเข้ามาพูดคุยในคณะกรรมการ
เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป
|
|
| |
|
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| สถานการณ์ In situ Excercise ที่ผ่านมา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
09/09/2563
|
ชายอายุ 49 ปี แน่นหน้าอก หมดสติที่ห้อง MRI
|
|
|
04/09/2562
|
เด็กชายอายุ 12 ปี มีอาการเวียนศีรษะ หมดสติ ขณะทำฟัน |
|
|
29/05/2562
|
เด็กชายอายุ 4 ปี มารดาพามาโรงพยาบาลด้วยอาการ ไข้ หายใจหอบ
ตัวเขียว |
|
|
04/03/2562 |
เด็กชายไทยอายุ 6 ปี มารดานำส่งโรงพยาบาลด้วยอาการไม่รู้สึกตัวหลังจากถูกไฟดูด 20 นาที
|
|
| 28/11/2561
| พลเมืองดีพบผู้ชาย 30 ปี อุบัติเหตุขับรถยนต์ หมดสติริมบึงทุ่งสร้าง
|
|
|
26/09/2561 |
เด็กชายไทย อายุ 8 ปี หมดสติ ขณะรอทำ chest X-ray |
|
|
25/07/2561
|
เด็กชายไทย อายุ 4 ขวบ ซึม ปลุกไม่ค่อยตื่น
|
|
| 25/12/2560 | ผู้ชายไทย 45 ปี หมดสติที่แพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและกดกริ่งขอความช่วยเหลือ |
|
| 27/10/2560 | เด็กชายอายุ 2 ปี มารดาพบว่านอนซึมไม่รู้สึกตัวอยู่บนที่นอน น้ำลายฟูมปาก |
|
| 28/08/2560 | ชายไทย
50 ปี ชักเกร็งน้ำลายฟูมปาก เรียก EMS ออกรับเหตุ |
|
| 26/04/2560 | ชายไทย 17 ปี ชักหมดสติชั่วขณะ เรียก EMS ออกรับเหตุ ต่อมาพบว่า Cardiac Arrest |
|
|
26/08/2559
|
เด็กชาย อายุ 9 ขวบ มาเยี่ยมญาติ มีอาการหายใจไม่ออก
|
|
| 26/05/2559 | pulmonary TB เพิ่ง start Anti TB
drug 1 wk. PTA มีอาการเหนื่อย |
|
| 28/01/2559
| เจ้าหน้าที่ห้องกายภาพบำบัด
กดกริ่งฉุกเฉินติดต่อ Rapid Response Team
|
|
| 18/12/2557 | ชายไทย 18 ปี ถูกแทงที่หน้าท้อง มีดปักคา สับสน คลำชีพจรได้ เรียกทีมกู้ชีพระดับสูงออกปฏิบัติการ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
|
|
|
|
|
|
|