Good practice ; แนวปฏิบัติการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน



 

         เนื่องจากปัญหาระยะเวลารอคอยในช่วงระหว่างทำการตรวจรักษาที่ต้องใช้การตรวจทางรังสีและการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ มกแปรผันตรงกับจำนวนของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในช่วงนั้นๆ  หมายถึง  หากผู้ป่วยมีปริมาณมาก ระยะเวลาในการรอจะนานมากขึ้น จนผู้รับบริการและญาติบางส่วนเกิดความไม่เข้าใจ จนอาจเกิดข้อร้องเรียน  ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลการรักษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ ตลอดจนเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค  การรักษาและการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว  ในแง่ของการป้องกันไม่ให้เกิดโรค  การดูแลตนเองเบื้องต้น  การมาตรวจรักษาเมื่ออาการไม่ดีขึ้น  เหล่านี้จะทำให้เกิดผลดีทั้งแก่ผู้ป่วยและญาติ  ส่งผลดีต่อบุคลากรและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ  การดำเนินโครงการนี้จะเพิ่มบทบาทการให้ข้อมูลของแพทย์  ของพยาบาลผู้ทำหน้าที่หัวหน้าทีม  และเพิ่มบทบาทของ Nurse manager หรือ Nurse Coordinator 

มีการดำเนินการ  ดังนี้


1. ผู้มารับบริการเมื่อมาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน จะถูกคัดกรองโดยพยาบาล และนำส่งเข้ามายังพื้นที่บริการที่เหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วย

2. ผู้ป่วยที่ถูกนำส่งห้องตรวจทั่วไป (treatment room) และห้องรับการปรึกษา (consultation zone) จะให้ญาติตามเข้ามาด้วย ส่วนห้องผู้ป่วยวิกฤต (resuscitation room) จะให้รอบริเวณนั่งรอของญาติหน้าประชาสัมพันธ์  เมื่อแพทย์ทำการตรวจรักษาแล้วจะแจ้งข้อมูลให้กับผู้ป่วยและญาติ แล้วจึงเชิญหน้าให้ไปรอบริเวณนั่งรอของญาติหน้าประชาสัมพันธ์ ยกเว้นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมีญาติเฝ้าตลอด กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ พยาบาลที่จุดคัดกรองจะมอบกระดาษสติกเกอร์ให้แก่ญาติเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ว่าสามารถเฝ้าผู้ป่วยได้ตลอดเวลา จนสิ้นสุดการรักษา  ได้แก่

  • ผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 
  • ผู้ป่วยสูงอายุ ที่ช่วยตัวเองลำบาก / Bed ridden
  • ผู้ป่วยมีประวัติชัก
  • ผู้ป่วย Psychosis หรือความจำสับสน/ผู้ป่วยเมา
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงอื่นๆ เช่น วิงเวียน

3. ผู้ป่วยที่ตรวจรักษาแล้ว อาการดีขึ้น แพทย์ให้กลับบ้าน จะให้คำแนะนำเรื่องโรคโดยแพทย์ และพยาบาลจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่บ้านซ้ำอีก  และถ้ามีญาติจะให้คำแนะนำพร้อมผู้ป่วยและญาติ โดยใช้กรอบของ DMETHOD

D=Diagnosis
M=Medicine
E=Environment
T=Treatment 
H= Health
O=Out patient
D=Diet

4. ผู้ป่วยที่อยู่ห้องวิกฤต เมื่อแพทย์ตรวจรักษาเรียบร้อยแล้ว ก่อน Admit จะตามญาติมาให้คำแนะนำและให้รอที่ประตูทางออก หน้าเวรเปล










  จุดคัดกรอง




  1. คัดกรองผู้ป่วยตามความรุนแรง  หากอาการวิกฤต  ส่งเข้า resuscitation room หากไม่วิกฤต  ส่งเข้าห้อง treatment (พยาบาลจุดคัดกรอง)
  2. พิจารณาผู้ป่วยรายต้องให้ญาติเฝ้า 1  คน ตามข้อบ่งชี้  โดยติดสติกเกอร์ ที่อกเสื้อเป็นสัญลักษณ์การอนุญาต (พยาบาลจุดคัดกรอง)
  3. กรณีที่ผู้ป่วยวิกฤต จะไม่ให้ญาติเฝ้า เมื่อซักประวัติเสร็จ ให้รอบริเวณพื้นที่รอ   
  ห้อง resuscitation


  1. ให้ญาติรอบริเวณพื้นที่นั่งรอหลังแพทย์ซักประวัติเสร็จ (พยาบาลวิชาชีพ)
  2. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ก่อนการ Admit (พยาบาลวิชาชีพ)
  3. ให้ข้อมูลการทำหัตถการและ เซ็นต์ใบยินยอมการทำหัตถการ (แพทย์) 
  ห้อง treatment และ     onsultation zone







  1. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติพร้อมๆ กับการซักประวัติและการตรวจร่างกาย  (แพทย์)
  2. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติก่อนการเจาะเลือดหรือการส่งเอกซเรย์และการฉีดยาตลอดจนเวลาที่ใช้ในการสังเกตอาการ หรือการรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (พยาบาลวิชาชีพ)
  3. หากประเมินอาการหลัง treatment มีอาการทรุดลงหรือดีขึ้นพร้อมจำหน่ายกลับบ้าน ให้ตามญาติมารอพบแพทย์มาให้คำแนะนำ (พยาบาลวิชาชีพ)
  4. กรณีจำหน่ายกลับบ้าน ให้ข้อมูลการรักษา ทำหัตถการ  ยาที่จ่ายไปและการนัดติดตามอาการ ตลอดจนเขียนใบนัดและคำแนะนำการกลับมาตรวจซ้ำ โดยใช้กรอบของ DMETHOD  (แพทย์)
  5. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ก่อนการ Admit (พยาบาลวิชาชีพ)  












แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000