Good practice ; TeReM (Telereferal monitoring system)







ปัจจุบันนี้ มีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อในโรงพยาบาลชุมชนไปยังโรงยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าปริมาณมาก  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรงหรือมีปัญหาที่ซับซ้อนที่ต้องการวินิจฉัยโดยใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า   หากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยที่รุนแรง การส่งต่อนั้นจัดเป็นสถานการณ์ที่คับขัน มีความเสี่ยงสูง กอปรกับอุปกรณ์หรือทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ความพร้อมในการให้บริการ ณ  โรงพยาบาลต้นทาง  ความรู้ความสามารถของพยาบาลนำส่ง  ระยะทางและสภาพการจราจร เป็นตัวแปรที่มีโอกาสเกิด Adverse Outcome ต่อผู้ป่วยได้ 



เพื่อป้องกัน Adverse Outcome ต่อผู้ป่วยระหว่างการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล จึงมีการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะแก่บุคลากร และมีการพัฒนาศักยภาพของ โรงพยาบาลต้นทาง  มีการพัฒนาช่องทางและวิธีในการปรึกษา  ซึ่งปัจจุบันนี้มีการปรึกษาทางโทรศัพท์ และปรึกษาด้วยภาพทาง smart phone ผ่าน LINE Application แต่ยังขาดภาพและเสียงแบบต่อเนื่อง Real-time  ดังนั้นจึงได้นำระบบ Telemedicine มาใช้งานในการ monitor ผู้ป่วยขณะนำส่ง โดยใช้ชื่อระบบว่า  Khonkaen Tele-Referal Monitoring ( Khonkaen TeReM) เริ่มใช้ เมื่อ ตุลาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับ  ดังนี้



  1. เพิ่มขีดความสามารถของรถพยาบาลระดับ Advanced ให้สามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. เป็นข้อมูล Real time ที่สามารถแทรกคำแนะนำในการรักษาจากแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ลดอัตราตายและพิการ

  3. เพิ่มความมั่นใจ เสริม Competency ของพยาบาล refer



ระบบ TeReM มีการทำงานอย่างไร ?



  




เครื่องมือและการทำงานของระบบ Tele-Referal Monitoring System ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย 3 G  





ผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อมายังโรงพยาบาลขอนแก่น มาจากโรงพยาบาลชุมชนขนาดต่างๆทีมีศักยภาพที่ต่างกัน การเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมาก  ระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยจะได้รับการติดมอนิเตอร์  คลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ชีพจร  Blood pressure และ O2 saturation monitoring ตั้งแต่โรงพยาบาลต้นทาง  เมื่อเปิดเครื่อง สัญญาณต่างๆ จะถูกส่งผ่านคลื่น 3G มายังห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ที่ ER Call Center จะมี monitor สำหรับสังเกตสัญญาณชีพเหล่านั้นได้ชนิด Real time ซึ่งสามารถสังเกตการณ์ได้พร้อมกันหลายๆ โรงพยาบาล  เมื่อได้รับแจ้งอาการผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ประสานงานที่ ER Call Center จะแจ้งแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเพื่อดู monitor เมื่อเกิดความผิดปกติของสัญญาณชีพหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  แพทย์จะติดต่อกลับไปยังรถพยาบาลที่นำส่งคันนั้นๆ และให้คำแนะนำในการช่วยเหลือได้ทันท่วงที 




   





ปฏิบัติการของ ER Call Center ในการสังเกตข้อมูล Real time และการแทรกให้คำปรึกษาเมื่อตรวจพบความผิดปกติของสัญญาณชีพ




ข้อบ่งชี้ของการใช้  Khon Kaen TeReM



  1. ผู้ป่วย Post Cardiac Arrest
  2. ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis ร่วมกับ Hypotension
  4. Unstable Arrythmias
  5. ผู้ป่วยที่จัดระดับของความรุนแรงตามระบบ KESI ระดับ 1 เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะ Respiratory failure, Shock ที่มีการใช้ยา Inotrope ต่างๆ หรือผู้ป่วยที่ต้องการหัตถการ Life-saving Intervention ต่างๆ














แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000