|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย |
นายแพทย์รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น
|
|
|
|
|
ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ภาวะภัยพิบัติหรือสาธารณภัย ทั้งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และจากธรรมชาติ
เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมักจะมีผู้ประสบภัยจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บ
ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ประกอบกับทรัพยากรทางการแพทย์ ณ เขตนั้นมักจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วยปริมาณมาก ดังนั้นการจัดการบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วย
|
|
|
|
|
|
|
วัตถุประสงค์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้มีประสิทธิภาพ
- เข้าใจหลักการบริหารจัดการในภาวะสาธารณภัยตาม Major Incident Medical
Management System (MIMMS)
- ทราบถึงข้อผิดพลาดที่มักพบในการบริการจัดการในภาวะสาธารณภัย
|
|
|
|
|
|
|
แนวทางปฏิบัติ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หลักการสำคัญคือการบริหารทรัพยากร คน เวชภัณฑ์ได้อย่่างเหมาะสม ส่วนการรักษาผู้ป่วยนั้นจะเกิดขึ้นตามมาอย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์นั้นๆ
เมื่อมีการบริหารจัดการที่ดีแล้ว หลักการบริหารจัดการในภาวะสาธารณภัยในที่นี้
จะยกระบบ MIMMS มากล่าวซึ่งมีหลักการดังนี้ คือ CSCATTT |
|
|
|
|
|
|
Command and Control
Safety
Communication
Assessment
Triage
Treatment Transport |
|
|
|
|
|
|
1.Command and control (การควบคุมกำกับสถานการณ์) |
|
|
|
|
|
|
จัดเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการสาธารณภัย
เนื่องจากการควบคุมทรัพยากรอย่างมีระบบจำทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นผู้นำหรือกลุ่มผู้นำจำ ต้องรับทราบสถานการณ์ที่จะต้องจัดการเป็นอย่างดี โดยรับข้อมูลจากศูนย์สั่งการและจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จากบุคลากรทางด้านสาธารณภัยที่มาถึงก่อน ถ้าไม่มีต้องสอบถามจากคนที่เห็นเหตุการณ์ หลังจากนั้นต้องนำข้อมูลที่ได้มาประมวลถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ ประมาณการถึงทรัพยากรและแผนที่ต้องใช้
ต่อจากนั้นต้องนำข้อมูลมาประชาสัมพันธ์ผู้ร่วมงาน เพื่อร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานร่วมกันได้การกั้นอาณาเขตการปฏิบัติงานชั้นนอกและชั้นในอย่างเคร่งครัดจะทำให้ |
|
|
|
|
|
|
จะกั้นอาณาเขตอย่างไร |
|
|
|
|
|
|
- เขตปฏิบัติการชั้นนอก คือ เขตที่กั้นประชาชนโดยรอบและผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากเขตปฏิบัติการ เพื่อลดความสับสนและทำงานได้สะดวก
- เขตปฏิบัติการชั้นใน คือ เขตที่กั้นบุคลากรทางสาธารณภัยออกจากจุดเกิดเหตุในรัศมีที่พ้นจากอันตรายที่อาจเกิดจากเหตุการณ์นั้น จะกั้นรัศมีเท่าไรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทั่วไป เขตชั้นในจะกั้นประมาณ 100
ฟุต (33 เมตร) จากจุดเกิดเหตุ แต่กรณีที่เหตุการณ์รุนแรงเท่านั้นจะกั้นห่างตามความเหมาะสม
โดยเฉพาะในกรณีสารเคมีรั่วไหลต้องกั้นระยะห่างตาม Emergency Response
Guide book
- การกั้นอาณาเขตในกรณีสารเคมีจะแบ่งพื้นที่ดังนี้
- เขตปนเปื้อน
คือ จุดเกิดเหตุ ยังมีการปนเปื้อนและรั่วไหลของสารเคมี
- เขตล้างตัว
คือ พื้นที่จัดเตรียมสำหรับการล้างสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับผู้ป่วย
- เขตปฏิบัติการ คือ พื้นที่ปฏิบัติการคัดแยกรักษาพยาบาล
- ทางเข้าออกในแต่ละชั้นเขต ต้องมีเจ้าหน้าที่ Safety คอยควบคุมการเข้าออกของบุคลากร
ว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากผู้ปฏิบัติการในแต่ละเขตพื้นที่
ต้องสวมชุดป้องกันสารเคมีตามระดับความรุนแรงของพื้นที่และเหตุการณ์ที่เผชิญ ทางเข้าและทางออกควรแยกกัน
|
|
|
|
|
|
|
การตั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ควรอยู่เหนือลมและบนพื้นที่สูงกว่าระดับจุดเกิดเหตุหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามความอำนวยของพื้นที่ |
|
|
|
|
|
|
- พื้นที่คัดแยก
จะมีการจัดตั้งกรณีที่ เจ้าหน้าที่คัดแยกไม่สามารถเข้าไปในเขตชั้นในได้ มักจะอยู่ใกล้กับทางเข้าออกของเขตชั้นใน2. จุดรักษาพยาบาล 3 พื้นที่ ตามระดับความรุนแรงของการคัดแยก
- พื้นที่ผู้ป่วยหนัก
(สีแดง) ควรตั้งในพื้นที่ที่สะดวกในการเข้าถึงจุดนำส่งแต่
ไม่ห่างจากจุดคัดแยกมากเกินไป
- พื้นที่ผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง (สีเหลือง) ตั้งใกล้พื้นที่สีแดง
- พื้นที่ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการการ รักษาเร่งด่วน ณ จุดเกิดเหตุสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้เลย ดังนั้นในบางสถานการณ์
อาจไม่มีการตั้งส่วนนี้แต่จะนำส่งโดยรถพยาบาลขั้นพื้นฐานเมื่อพร้อม
จุดนำส่ง ตั้งอยู่ใกล้จุดรักษาพยาบาล อยู่ในบริเวณที่รถพยาบาลเข้าถึงได - จุดจอดรถ อาจอยู่นอกหรือในเขตปฏิบัติการ แต่ต้องมีการจัดการจราจรให้เป็นทางเดียวไม่มีสิ่งกีดขวางจราจรและเข้าถึงจุดนำส่งได้ง่าย
|
|
|
|
|
|
|
2. Safety |
|
|
|
|
|
|
ผู้นำหรือผู้ที่รับผิดชอบหน้าที่นี้ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บาดเจ็บ รวมถึงการดูแลเรื่องความเหมาะสมของการแต่งกาย ชุดป้องกันตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ และพื้นที่เขตปฏิบัติการที่จะเข้าไปปฏิบัติการ |
|
|
|
|
|
|
3. Communication |
|
|
|
|
|
|
เจ้าหน้าที่สื่อสารมีหน้าที่สื่อสารกับหน่วยงานภายนอกและภายในเหตุการณ์ตามคำสั่งของผู้นำ เพื่อลดความสับสนในการใช้ช่องสัญญาน และความคับคั่งของการใช้ช่องสัญญาน รูปแบบการสื่อสารที่ไม่ผ่านเจ้าหน้าที่สื่อสารจะอนุญาตให้ เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลประสานตรงกับเจ้าหน้าที่นำส่ง และเจ้าหน้าที่นำส่งประสานตรงกับเจ้าหน้าที่จุดจอดรถเท่านั้น การรายงานสถานการณ์ไปยังศูนย์สื่อสารยึดหลักการ METHANE |
|
|
|
|
|
|
M = ภัยหมู่: เป็นอุบัติภัยหมู่หรือไม่ E = รู้จุด: เหตุเกิดที่ไหน T = รู้เหตุ:
เหตุอะไร เช่น อุบัติเหตุจราจร เพลิงไหม้ ดินถล่ม H = เภทภัย: เป็นเหตุที่มีอันตรายหรือไม่ A
= ไปพบ: ทีมสนับสนุนจะต้องใช้เส้นทางไหนที่ปลอดภัยในการเข้าสนับสนุน N = ผู้ประสบ:
มีผู้บาดเจ็บประมาณเท่าไร E = ครบช่วย: ทีมสนับสนุนในเหตุแล้วเท่าไรและต้องการเพิ่มเท่าไร |
|
|
|
|
|
|
4. Assessment |
|
|
|
|
|
|
การประเมินสถานการณ์ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเหตุการณ์มักจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บทบาทในการประเมินทรัพยากร จะเด่นชัดในบทบาทของผู้นำและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วน เพื่อจะจัดสรรทรัพยากรที่มีและขอเพิ่มทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกได้
โดยส่วนมากจะมีการโยกย้ายทรัพยากร ที่ปฏิบัติการสำเร็จแล้วไปช่วยในส่วนที่ยังมีการปฏิบัติการอยู่
เช่น เจ้าหน้าที่ส่วนคัดแยกเมื่อคัดแยกผู้บาดเจ็บหมดแล้วก็จะถูกมอบหมายให้ไปช่วยส่วนรักษาพยาบาลต่อไป |
|
|
|
|
|
|
5. Triage |
|
|
|
|
|
|
มีแนวทางการประเมินแยกผู้บาดเจ็บเล็กน้อยและค้นหาผู้ป่วยหนักด้วย MASS triage ดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
M = Movable A = Assessment S = Sieve S = Sort |
|
|
|
|
|
|
- ใครสามารถเดินได้ให้ไปยังจุดสีเขียว ----- เขียว
- ใครต้องการความช่วยเหลือให้ยกมือขึ้น ----- เหลือง
- ไปคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ไม่ยกมือเพื่อคัดแยกแดงหรือดำ หากไม่หายใจ----ดำ
|
|
|
|
|
|
|
|
Triage
sieve
Triage
sort |
|
|
|
|
|
|
6. Treatment |
|
|
|
|
|
|
เป็นจุดที่ทรัพยากรควรจะขาดแคลนมากที่สุด
หัวหน้าจุดรักษาพยาบาลควรเป็นคนที่มีความสามารถไม่น้อยกว่าผู้นำ ซึ่งจุดนี้ที่จะมีการทำ
Triage sort ที่จะคัดแยกผู้ป่วยละเอียดมากกว่า Triage
sieve ซึ่ง Triage sort จะเป็นการคัดแยกผู้ป่วยทุติยภูมิเพื่อลดความผิดพลาดในการคัดแยกปฐมภูมิ
ในบางครั้งอาจพบผู้ป่วยสีเหลืองเป็นสีแดง และจะมีการย้ายจุดรักษาที่เหมาะสมได้ |
|
|
|
|
|
|
การจัดพื้นที่ในการรักษาพยาบาลตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ |
|
|
|
|
|
|
พื้นที่สีแดง : ควรมีหัวหน้าเป็นแพทย์
พื้นที่สีเหลือง : ควรมีหัวหน้าเป็นเวชกิจฉุกเฉินระดับกลางเป็นอย่างน้อย
พื้นที่สีเขียว : ควรมีหัวหน้าเป็นเวชกิจฉุกเฉินระดับพื้นฐานเป็นอย่างน้อย บางครั้งอาจไม่มีการรักษาผู้ป่วยสีเขียว ณ จุดเกิดเหตุ อาจนำส่ง
โรงพยาบาลปลายทางได้เลย |
|
|
|
|
|
|
หลักการรักษาในสถานการณ์สาธารณภัย |
|
|
|
|
|
|
ให้การรักษาแค่เพียงการนำส่งผู้บาดเจ็บไปถึงยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมอย่างปลอดภัย โดยเบื้องต้นเป็นที่การรักษาตาม
Primary Survey (Save and
run) อย่างไรก็ดีไม่มีกฎตายตัวในการรักษา
ณ จุดเกิดเหตุขึ้นอยู่กับความยืดเยื้อของสถานการณ์
หรือยานพาหนะในการนำส่ง บางครั้งถ้ามีการตั้ง รพ.สนาม อาจมีการรักษาขั้นสูงเพื่อรักษาชีวิตผู้บาดเจ็บต่อได้ |
|
|
|
|
|
|
แนวทางการรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
7. Transport |
|
|
|
|
|
|
เจ้าหน้าที่จุดนำส่ง (Loading officer) ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล,เจ้าหน้าที่จุดจอดรถและโรงพยาบาลปลายทาง
ในการนำส่งผู้ป่วยถูกที่ถูกเวลา และยานพาหนะที่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่จุดนำส่งจำเป็นต้องมี Surge capacity (รายการแสดงจำนวนเตียงที่โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยได้กี่เตียง)
รายการเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจนำส่งผู้ป่วยออกไปแบบกระจายไม่ไปแออัดที่โรงพยาบาลใด
โรงพยาบาลหนึ่งหรือส่งไปยังโรงพยาบาลที่ไม่มีศักยภาพเหมาะสมกับผู้บาดเจ็บ |
|
|
|
|
|
|
เจ้าหน้าที่จุดจอดรถ (Parking officer) มีหน้าที่ควบคุมความเป็นระเบียบของรถพยาบาลและพาหนะ
อื่น ๆ
ที่จำเป็นต้องเข้ามาในจุดจอดรถ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานพาหนะนำส่งผู้ป่วยและต้องควบคุมพลขับรถแต่ละคันให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันที
ที่มีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่นำส่ง โดยมากจากให้พลขับอยู่ประจำรถ ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง เพื่อให้พลขับสามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมหรือภยันตรายภายนอกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
แต่ในประเทศเขตร้อนการนั่งประจำรถอาจไม่เหมาะสมนัก อาจหาจุดรวมพลขับในที่ร่ม ไม่ไกลจากจุดจอดรถและควบคุมไม่ให้
ออกนอกพื้นที่ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 5 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
|
|
|
|
|
|
|