Advanced prehospital care








        จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลขอนแก่นเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ  และสถานการณ์การทำงานในพื้นที่ก็เป็นที่คาดหวังของประชาชน ภาระงานเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับและเนื้องานต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น  โรงพยาบาลขอนแก่นโดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้จัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูงออกบริการผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 2 หน่วยต่อเวร และในปี 2558 ได้รับ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 5 นายมาปฏิบัติการทดแทนการออกปฎิบัติการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุโดยพยาบาลวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีเจ้าพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จำนวน 6 นายมาปฏิบัติการ ออกเหตุด้วย  การพัฒนาดังกล่าวนี้ได้ส่งผลดีอย่างมาก ทั้งด้านการปฏิบัติงานที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญตรงกับบทบาทหน้าที่ อีกทั้งยังลดภาระงานของพยาบาลวิชาชีพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ปฏิบัติงาน






นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic)

  1. เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ของกระทรวงศึกษาธิการ จากองค์กรหรือสถาบันการศึกษาที่ อศป. รับรอง
  2. สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหัดปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับ ประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป. กําหนด

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. ออกปฏิบัติการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั้งระดับชั้นสูงและขั้นพื้นฐานในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นพื้นฐานและผู้ช่วยเวชกรรมขั้นสูง ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นสูงที่มีแพทย์เป็นหัวหน้าทีม (ทดแทนภาระงานของพยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน)
  2. ปฏิบัติงาน    ศูนย์สื่อสารและสั่งการในฐานะผู้จ่ายงาน (dispatcher)
  3. เป็นวิทยากรหลัก  วิทยากรร่วม  ในหลักสูตรการฝึกอบรมในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
  4. พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  5. ช่วยปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน  ในฐานะผู้ช่วยเวชกรรมภายใต้การกำกับของแพทย์และพยาบาลแผนกฉุกเฉิน
  6. ปฏิบัติการรักษาพยาบาล ในสถานการณ์สาธารณภัยทั้งที่เกิดภายในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาล





เจ้าพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Advanced EMT)

  1. เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์และปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงที่จําเป็นเร่งด่วน โดยได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือเทียบเท่า ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการจากองค์กรหรือสถาบันการศึกษาที่ อศป. รับรอง
  2. สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหัดปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป.กําหนด

ทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. ออกปฏิบัติการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั้งระดับชั้นสูงและขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้ช่วยเวชกรรมตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ทั้งในสถานการณ์ปกติและสาธารณภัย
  2. ปฏิบัติงาน    ศูนย์สั่งการในฐานะผู้ประสานปฏิบัติการฉุกเฉิน
  3. เป็นวิทยากรหลัก  วิทยากรร่วม  ในหลักสูตรการฝึกอบรมในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
  4. พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  5. ช่วยปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน  ในฐานะผู้ช่วยเวชกรรมภายใต้การกำกับของแพทย์และพยาบาลแผนกฉุกเฉิน





การออกให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน




เมื่อได้รับการจ่ายงานจากศูนย์สื่อสารและสั่งการ จะแบ่งหน่วยปฏิบัติการออกเป็น 2 ระดับ


  1. Advance A : ออกปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยวิกฤต (phone triage red) ประกอบไปด้วย
  • แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 1 นาย
  • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 นาย
  • เจ้าพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 นาย
  • พนักงานขับรถพยาบาล 1 นาย


 





  1. Advance B : ออกปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (phone triage yellow or green )ประกอบไปด้วย
    • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 นาย
    •  เจ้าพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 นาย
    •  พนักงานขับรถพยาบาล 1 นาย





แนวทางการออกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ขั้นสูง




         เมื่อมีการร้องขอทีมออกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ บุคคลากรเหล่านี้จึงต้องมีความพร้อมอยู่เสมอเพื่อให้ผู้ป่วยได้รบการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็ว  ทีมปฏิบัติการประกอบด้วย

แพทย์  ทำหน้าที่  หัวหน้าทีมรักษา ดูแลทางเดินหายใจและระบบหายใจ

Paramedic  ทำหน้าที่  จัดการให้สารน้ำ บริหารยาและตรวจวัดสัญญาณชีพ

เจ้าพนักงานกู้ชีพ   ทำหน้าที่  เตรียมเครื่องกระตุกหัวใจ ผู้ช่วยแพทย์ดูแลทางเดินหายใจ ส่งอุปกรณ์ยกเคลื่อนย้ายและกดหน้าอก

พนักงานขับรถ  ทำหน้าที่  กดหน้าอกและยกเคลื่อนย้าย










Disaster preparedness แผนการจัดการอุบัติเหตุกลุ่มชน รพ.ขอนแก่น




เมื่อมีการประกาศใช้แผนการจัดการอุบัติเหตุกลุ่มชน ตามเกณฑ์ดังนี้

  1. เหตุการณ์ที่มีผู้บาดเจ็บหนัก(สีแดง) มากกว่า 6 คน
  2. เหตุการณ์ที่มีสารเคมี สารพิษหรือวัตถุระเบิด (HAZMAT)
  3. อุบัติเหตุ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดในสถานที่ที่มีฝูงชนอยู่รวมกันปริมาณมาก (mass gathering)
  4. เหตุการณ์ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ตรวจสอบแล้วว่าเป็น อุบัติเหตุกลุ่มชน


ให้เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการตามกลยุทธ์ดังต่อไปนี้

  1. ผู้สั่งการทางการแพทย์ ตำแหน่ง field Medical commander นามเรียกขาน สั่งการ  มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์บุคคลแรกที่มาถึง ณ จุดเกิดเหตุ จนกว่าจะมีผู้ที่เหมาะสมมากกว่ามารับช่วงการสั่งการ กรณีหัวหน้าความปลอดภัยและจัดการทรัพยากรไม่สามรถปฏิบัติงานได้ ให้รับผิดชอบความปลอดภัยด้วย
  2. หัวหน้าความปลอดภัยและจัดการทรัพยากร ตำแหน่ง safety & resource leader นามเรียกขาน “Safety”
    มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์ เป็นผู้ช่วยผู้สั่งการการทางการแพทย์
  3. หัวหน้าสื่อสาร ตำแหน่ง communication leader นามเรียกขาน สื่อสาร
    มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์ เป็นผู้ช่วยผู้สั่งการการทางการแพทย์
    กรณี หัวหน้าความปลอดภัยและจัดการทรัพยากรไม่สามรถปฏิบัติงานได้ ให้รับผิดชอบการจัดการทรัพยากรด้วย
  4. หัวหน้าคัดแยก ตำแหน่ง triage leader นามเรียกขาน คัดแยก
    มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์ บริหารจัดการการคัดแยกภายใต้การสั่งการของผู้สั่งการการทางการแพทย์และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหลักให้ไปรายงานตัวกับผู้สั่งการการทางการแพทย์ เพื่อนำทีมสนับสนุนภารกิจอื่นๆ
  5. หัวหน้ารักษา ตำแหน่ง treatment leader นามเรียกขาน รักษา
    มอบหมายให้แพทย์ผู้มีประสบการณ์ กรณีไม่มีแพทย์มอบให้พยาบาลหรือเจ้าพนักงานกู้ชีพระดับกลางขึ้นไป ตามลำดับโดยปฏิบัติงานภายใต้การกำกับของผู้สั่งการการทางการแพทย์
    พื้นที่รักษาผู้ป่วยสีแดง
    : มอบหมายให้แพทย์เป็นผู้นำ กรณีไม่มีแพทย์ให้พยาบาลเป็นผู้นำภายใต้การกำกับของหัวหน้ารักษาหรือผู้สั่งการการทางการแพทย์
    พื้นที่รักษาผู้ป่วยสีเหลือง
    : มอบหมายให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้นำภายใต้การกำกับของหัวหน้ารักษา
    พื้นที่รักษาผู้ป่วยสีเขียว
    : มอบหมายให้พยาบาลหรือเจ้าพนักงานกู้ชีพระดับกลางขึ้นไปเป็นผู้นำภายใต้การกำกับของหัวหน้ารักษา
  6. หัวหน้านำส่ง ตำแหน่ง loading leader นามเรียกขาน นำส่ง
    มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์ บริหารจัดการการนำส่งภายใต้การสั่งการของผู้สั่งการการทางการแพทย์และประสานงานการนำส่งกับ หัวหน้ารักษา หัวหน้าจุดจอดและศูนย์สั่งการ 1669
  7. หัวหน้าจุดจอด ตำแหน่ง parking leader นามเรียกขาน จุดจอด
    มอบหมายให้ผู้มีประสบการณ์ บริหารจัดการจุดจอดรถภายใต้การสั่งการของผู้สั่งการการทางการแพทย์และประสานงานการนำส่งกับหัวหน้านำส่งและตำรวจจราจร





ชุดปฏิบัติการอุบัติภัยหมู่นอกโรงพยาบาล




เมื่อรับการยืนยันจากศูนย์สั่งการ (command control center) ว่าเกิดอุบัติภัยหมู่ และได้รับคำสั่งให้   ชุดปฏิบัติการออกปฏิบัติการ ให้ออกปฏิบัติการโดย




ชุดปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วย

  • แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน  ทำหน้าที่    field medical commander  และ  safety

เวลา 08.00-16.00 น. : อาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน   ตำแหน่ง    EMS
เวลา 16.00-24.00 น.
: อาจารย์แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน (call 2)  ที่ปฏิบัติที่ห้องฉุกเฉินขณะนั้น
เวลา 24.00-08.00 น.
: อาจารย์แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน   ที่ปฏิบัติที่ห้องฉุกเฉินขณะนั้น

  • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คนที่ 1  ทำหน้าที่   triage + treatment*
  • เจ้าพนักงานกู้ชีพ  คนที่ 1  ทำหน้าที่   communication /loading**
  • เจ้าพนักงานกู้ชีพ  คนที่ 2  ทำหน้าที่   treatment
  • พนักงานขับรถ ทำหน้าที่   parking
    หมายเหตุ ตำแหน่ง 2, 3, 4  อาจมอบหมาย นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (paramedic)





ชุดปฏิบัติการที่ 2 (ออกปฏิบัติการเมื่อได้รับการร้องขอจากชุดปฏิบัติการที่ 1) ประกอบด้วย

  • แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ทำหน้าที่  treatment
  • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คนที่ 2 ทำหน้าที่  treatment ***
  • เจ้าพนักงานกู้ชีพจากศูนย์สั่งการ ทำหน้าที่   loading (แทนชุดที่ 1)
  • พนักงานขับรถ ทำหน้าที่   transportation

หมายเหตุ ตำแหน่ง 2, 3 อาจมอบหมายพยาบาลวิชาชีพ

*   ให้ทำหน้าที่ triage เสร็จสิ้นจึงไป treatment หรือ หน้าที่อื่นๆ ที่ field medical commander มอบหมาย
**  ส่งมอบหน้าที่ loading ให้ EMT-I ชุดปฏิบัติการที่ 2

*** กรณีที่ต้องนำส่งผู้ป่วยให้นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือพยาบาล ตำแหน่งนี้รับผิดชอบ


       การร้องขอกำลังเสริมเครือข่ายและการบริหารบุคคลากรอื่นๆ อยู่ภายใต้อำนาจของ field medical commander

และผู้บริหารโรงพยาบาลในการยกระดับความรุนแรงของเหตุการณ์เพื่อประกาศใช้แผนประจำจังหวัด














แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000