Good practice ; Khon Kaen ESI (KESI) triage







Relate topic ; Triage Training program


KESI คืออะไร 




KESI เป็นการคัดแยกผู้ป่วย กระทำโดยพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมแล้ว  เป็นการคัดแยกเน้นภาวะคุกคามต่อชีวิต และการใช้ทรัพยากรเพื่อวินิจฉัยและรักษา ไม่ใช่การคัดแยกตามการวินิจฉัยโรค โดยหลักการแล้ว สามารถยอมรับความผิดพลาดของการคัดแยกได้



Time guaruntee with KESI




KESI  1  resuscitation สีแดง   ต้องให้การช่วยเหลือทันที
KESI  2  emergent
  สีชมพู    ต้องได้รับการตรวจรักษาในเวลา 5-10  นาที
KESI  3  urgent สีเหลือง  
 รับการตรวจรักษาในเวลา 15-30  นาที
KESI  4  Less-urgent  สีเขียว   สามารถรอรับการตรวจรักษาในเวลา 30-60  นาที
KESI  5  non-urgent  สีขาว
  สามารถรอรับการตรวจรักษาในเวลา 1-2  ชั่วโมง




คำถามในการคัดกรองตามระบบ KESI

  1. ผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิตหรือไม่ ?
  2. ผู้ป่วยไม่ควรจะต้องรอใช่หรือไม่ ?
  3. ผู้ป่วยต้องการ Resource เพิ่มเติมมากเพียงใด ?
  4. สัญญาณชีพของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ?











Decision Point A : ผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิตหรือไม่ ? ต้องได้รับการช่วยเหลือด้านทางเดินหายใจ การให้ยา และการดูแลระบบไหลเวียนโลหิตอย่างรวดเร็วหรือไม่ ( Immediate Life-saving intervention)




Immediate life-saving intervention ประกอบด้วย




Life-savingintervention non-Life saving  intervention
Airway-breathingBVM ventilation, intubate, surgical airwayNasal Canular, non-rebreather mask
HemodynamicsSignificant IV resuscitation, control of major bleeding IV access, Heparin or Saline lock
Electical therapyDefibrillation, Cardioversion, External pacing Cardiac monitoring
ProceduresNeedle thoracostomy, Pericardiocentesis, Open thoracotomyDiagnostic test : ECG, LAB, FAST
Medications50% glucose, Dopamine, Atropine, AdenosineAnntibiotic, IV NTG, ASA, Heparin, pain medication






Decision Point B : ผู้ป่วยไม่ควรจะต้องรอใช่หรือไม่ ?




ข้อสังเกต : การคัดกรองระบบนี้ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และการคัดกรองมักไม่ต้องใช้สัญญาณชีพในการจัดกลุ่ม high risk เพียงแค่่อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา 

Is this a high-risk situation ? ขึ้นกับการซักประวัติคร่าวๆ, การสังเกตเบื้องต้น 
และประสบการณ์ (sixth sense !!)

Is the patient confused, lethargic or disoriented ?


Is the patient in severe pain or distress ? พิจารณา เป็นระดับ 2 เมื่อมี
ระดับความปวดมากกว่า 7/10 ซึ่งควรจะคำนึงถึงอาการสำคัญ โรคประจำตัวด้วย





ตัวอย่างของ High-risk situations :

    1. Active chest pain, suspicious for acute coronary syndrome but does not require an immediate life-saving intervention
    2. Signs of a stroke, but does not meet level-1 criteria
    3. rule-out ectopic pregnancy, hemodynamically stable
    4. patient on chemotherapy and therefore immunocompromised, with a fever
    5. suicidal or homicidal patient
    6. needle stick in a health care worker
 
ตัวอย่างของ confused, lethargic or disoriented
 
    1. Demonstrating acute change in level of consciousness  เช่น
    2. New onset of confusion in an elderly patient
    3. The 3-month-old whose mother reports the child is sleeping all the time
    4. The adolescent found confused and disoriented
 
ตัวอย่างของ Severe Pain / Distress
  1. Pain score 7/10
  2. pain can be assessed by clinical observation:
Distressed facial expression, grimacing, crying
Diaphoresis
Body posture
Changes in vital signs – hypertension (HTN), tachycardia, and increased respiratory rate





Decision Point C : Resource Needs  ต้องใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร ? 




Resources หรือ กิจกรรม ของ KESI
  • ผู้ป่วยที่มาโดยการ refer, consult specialist
  • ผู้ป่วยที่คาดว่าจะ Admit
  • LAB : blood test, urine (ไม่นับ Hct, DTx, EKG)
  • X-ray
  • Ultrasound, CT scan
  • Intravenous fluid (rehydration)
  • ฉีดยา IV, IM (ไม่นับ TT, rabies vaccine)
  • ฉีดยา TAT, Rabies immunoglobulin (ERIG ,HRIG)
  • หัตถการต่างๆ เช่น NG tube, Foley catheter, เย็บแผลขนาดใหญ่, I&D, eye irrigate, remove FB


Decision Point D : the patient vital sign ? พิจารณาว่าสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์อันตรายหรือไม่ ?




Agepulse  rateRespiratory rateBody temperatureO2 saturation (RA)
Neonate - 3 mo.> 180> 50> 38.0 C less than 92 %
3 - 36 mo.> 160> 40pedeatric consideration note below
3 - 8 yrs.> 140> 30
more than 8 yrs.> 100> 20


Pediatric consideration of body temperature

Neonate หรือทารกอายุ <3 เดือน มีไข้มากกว่า 38.0 C พิจารณาเป็น ระดับ 2
เด็กที่อายุมากกว่า 3 เดือน มีไข้มากกว่า 39.0 C ที่ไม่มีสาเหตุชัดเจนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ พิจารณาเป็นระดับ 2





สรุป การนำ KESI มาใช้ที่ห้องฉุกเฉิน



KESI เป็นการคัดแยกเน้นภาวะคุกคามต่อชีวิต และการใช้ทรัพยากรเพื่อวินิจฉัยและรักษา ไม่ใช่การคัดแยกตามการวินิจฉัยโรค
สามารถยอมรับความผิดพลาดของการคัดแยกได้
ก้าวต่อไป ... สามารถนำมาใช้เพื่อคัดกรองสำหรับผู้มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก ทั้ง ER และ OPD ด้วย Protocol ที่เหมือนกัน














แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000