แนะนำบริการห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน









ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น  ได้จัดแบ่งพื้นที่ให้บริการต่างๆ กัน  ดังนี้





จุดคัดกรอง (Screening area)




ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของห้องฉุกเฉินโดยมีพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมทำหน้าที่คัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนทางการแพทย์เพื่อให้ได้รับ การรักษาภายในเวลา ที่เหมาะสมและเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติได้รับการประเมินและได้รับการแก้ไขภาวะคุกคามชีวิตได้อย่างทันท่วงที
ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับ ด้วยระบบค้ดกรอง Khon Kaen ESI (KESI) ดังนี้



                กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยวิกฤต        ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง”           ตรวจทันที
                กลุ่มที่ 2 เจ็บป่วยรุนแรง      ใช้สัญลักษณ์  สีชมพู        รอตรวจ 5-15 นาที
                กลุ่มที่ 3 เจ็บป่วยปานกลาง  ใช้สัญลักษณ์  สีเหลือง      รอตรวจ 15-30 นาที
                กลุ่มที่ 4 เจ็บป่วยเล็กน้อย   ใช้สัญลักษณ์  สีเขียว         รอตรวจ 30-60 นาที
                กลุ่มที่ 5 ผู้ป่วยทั่วไป        ใช้สัญลักษณ์  สีขาว          รอตรวจ 1-2 ชั่วโมง






แผนผังการแบ่งพื้นที่การให้บริการของห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน




ห้องผู้ป่วยวิกฤต (Resuscitation room)




เป็นบริเวณที่ให้การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยวิกฤตและเจ็บป่วยรุนแรงซึ่งรองรับผู้ป่วยได้สูงสุดจำนวน 8 ราย และมีทีมแพทย์ พยาบาลและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีซึ่งสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้ตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งผู้ป่วยเฉพาะโรคที่อยู่ในภาวะวิกฤต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดที่มีความดันโลหิตต่ำ,
สมองขาดเลือดที่ระดับของความรู้สติต่ำและผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ รวมทั้งยังมีทีมกู้ชีวิตที่พร้อมปฏิบัติงานและมีความชำนาญสูง






ห้องตรวจฉุกเฉิน (Treatment room)




เป็นบริเวณที่ให้การดูแลผู้เจ็บป่วยปานกลางและเล็กน้อยซึ่งแบ่งย่อยเป็นบริเวณต่างๆ เช่น บริเวณที่ใช้ทำหัตถการและตรวจผู้ที่มีบาดแผลหรือได้รับบาดเจ็บ, บริเวณตรวจผู้ป่วยเด็ก, บริเวณสังเกตอาการหลังให้การรักษาหรือทำหัตถการ, ห้องตรวจภายในและห้องเฝือก เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการบริหารจัดการและผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุด




ห้องสังเกตอาการ (Observation room)




ก่อนหน้านี้เคยเป็นหอผู้ป่วยที่จัดตั้งขึ้นในบริเวณพื้นที่ของห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สามารถรองรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในได้ทั้งหมด 12 เตียง โดยแบ่งเป็น ผู้ป่วยทั่วไป 11 เตียง และ พระสงฆ์ 1เตียง ผู้ป่วยที่รับการรักษาที่ห้องสังเกตอาการจะมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเกิน 72 ชั่วโมงแล้วยังไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้จำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วย อายุรกรรม ศัลยกรรม เด็ก นรีเวช สูติกรรม ตามลักษณะของโรค  

ปัจจุบันนี้ได้ปรับให้มีการบริการรักษาพยาบาล ในรูปแบบ
Short stay unit และส่วนปรึกษาเฉพาะทาง  ดังนี้
1.  ส่วนสังเกตอาการ  ให้บริการรักษาพยาบาล และการสังเกตอาการ คงให้บริการเพียง 6 เตียง โดยมีข้อกำหนดว่าผู้ป่วยสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง อนึ่ง ห้องสังเกตอาการอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยการตรวจผู้ป่วยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าเป็นหน้าที่อาจารย์แพทย์เวรดึก แล ช่วงบ่ายเป็นหน้าที่ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ร่วมกับ แพทย์ประจำบ้าน หรือ อาจารย์แพทย์ และจะมีการจัดเวรพยาบาลทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือ มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติพยาบาลผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยสามารถแจ้งแพทย์ผู้อยู่เวรห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้ทันที

เกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าสังเกตอาการ  มีดังนี้
ปรับปรุงล่าสุด ธันวาคม 2560


1. ผู้ป่วยที่สังเกตอาการไม่เกิน 24 ชม. ถ้าเกิน 24 ชม.ให้แพทย์พิจารณา admit
2.
Acute diarrhea with moderated dehydration อายุมากกว่า 1ปี ที่ต้องการ IV
3.
Acute febrile illness ที่มี vital sign stable
4.
Unknown animal bite no systemic toxicity (WCT and peak flow normal) ที่ต้องสังเกตอาการ 24ชม.
5.
Dizziness/Vertigo ที่ต้องสังเกตอาการ
6.
abdominal pain, unspecified
7.
Anemia (Known cause/Hct>15) ยกเว้น เด็กต่ำกว่า 15 ปี, ผู้ป่วย CKD stage4-5, ESRD, ผู้ป่วยให้เลือดครั้งแรก
8.
Electrolyte imbalance เช่น hypo/hypernatremia ที่ไม่มีอาการทางระบบประสาท หรือ hypo/hyperkalemia ที่มีค่า K > 2.5 และ < 6.5 ที่ไม่มี EKG change
9. ผู้ป่วยฝากนอน/รอกลับ/รอส่งต่อ ไม่เกิน 1 วัน
10.
Anaphylaxis ที่ไม่มี hypotension
11. ผู้ป่วยที่ต้องสังเกตอาการหลังทำหัตถการ เช่น
LP
12.
Symptomatic hypoglycemia ที่ไม่ได้เกิดจากการกินยา oral hypoglycemic drug หรือ simple hyperglycemia

2.   ส่วนสังเกตอาการของผู้ป่วยที่สงสัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Chet pain Corner)
3.   ส่วนการปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูกและข้อ  โดยนำผู้ป่วยที่ต้องได้รับปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้มารวมกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ  โดยพยาบาลผู้มีความชำนาญเฉพาะ เป็นผู้ให้การดูแล





ห้องตรวจแยกโรค  (Isolation room)




ก่อนหน้านี้ เป็นห้องแยกตรวจเฉพาะโรคที่ตั้งอยู่ด้านหลังห้องอุบัติฉุกเฉินซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ยังไม่เป็นสัดส่วนและเป็นระบบความดันลบ เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ทางเดินหายใจหรือโรคที่สามารถแพร่กระจาย ไปยังผู้อื่นได้ง่ายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการอื่นๆและบุคคลากรทางการแพทย์โดยมีแพทย์และพยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงห้องแยกโรคเป็นระบบปิด ความดันลบ ไว้รองรับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ  



เริ่มให้บริการ กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป


ห้องตรวจผู้ป่วยทั่วไป (Non urgent room)




เป็นห้องตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไปซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโดยมีแพทย์และพยาบาลขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความแออัดของห้องฉุกเฉินและเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้แพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉิน มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น 



ปัจจุบัน  ปิดปรับปรุง

ศูนย์ประสานงานการส่งต่อและให้คำปรึกษา (ER Call Center)




ER call center เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงานการรับและส่งต่อผู้ป่วย จากโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายทั้งในเขตจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอื่นๆ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น  ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, มหาสารคามและจังหวัดรอยต่อที่ใกล้เคียงจังหวัดขอนแก่นรวมถึงประสานงานปรึกษาระหว่างแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนกับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ อีกทั้งเป็นศูนย์สำหรับการมอนิเตอร์ vital signal ผ่านทาง TeleReferal monitoring system และการให้คำแนะนำเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลขอนแก่น ด้วยระบบ On-line medical direction  โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีรู้ด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 2 ปี และมีทักษะการสื่อสารที่ดี ผลัดเปลี่ยนเข้าปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง












แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 1 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000