|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความเป็นมาของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น
|
|
|
|
การเปิดอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เริ่มการดำเนินการในปี พ.ศ. 2547
ซึ่งเป็นปีแรกที่เปิดการฝึกอบรมสาขานี้ภายใต้สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยโดย
นายแพทย์นคร
ทิพย์สุนทรศักดิ์ ,นายแพทย์สมชาย เรืองวรรณศักดิ์, แพทย์หญิงอภิวรรณ
ศิริคะเณรัตน์ และแพทย์หญิงธมล
ลิ้มธนาคม โดยอาจารย์แพทย์จะทำงานดูเเลผู้ป่วยเวรเช้าในเวลาราชการเป็นหลักและขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการด้วย
ส่วนอาจารย์แพทย์เฉพาะทางแผนกอื่นที่หมุนเวียนมาช่วยงานห้องฉุกเฉิน
จะมาช่วยปฏิบัติงานในเวรบ่ายและเวรดึก
ดังนั้นจึงมีอาจารย์แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อให้สอดคล้องรองรับระบบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
ล่าสุด
เมื่อปี 2561 โรงพยาบาลขอนแก่นได้มีอาจารย์แพทยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 12 ท่าน
และสามารถรองรับศักยภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 8 ตำแหน่ง ต่อ ชั้นปี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร |
|
|
|
|
|
โรงพยาบาลขอนแก่น
เป็นโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิของรัฐ สังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลขนาด 1,000 เตียง มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักครบทุกสาขา ดูแลรักษาผู้ป่วยทุกสาขามีศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง
5 สาขา ได้แก่ สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาโรคมะเร็ง สาขาโรคหัวใจ และ สาขารับบริจาคปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้ยังมีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่น
(JICA) ให้การสนับสนุนรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์
การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ และสนับสนุนการจัดทำระบบฐานข้อมูล trauma
registry เป็นแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข
แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นแผนกที่มีผู้รับการบริบาลจํานวนมาก (ประมาณ 120,000
รายต่อปี) ลักษณของะผู้ป่วยมีความหลากหลายทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่
ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมและผู้บาดเจ็บ
ทั้งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบและผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ
และโรงพยาบาล
ในเขตจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จึงเป็นแหล่งฝึกอบรมที่มีผู้ป่วยหลากหลาย
เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกทักษะได้เป็นอย่างดี
กลุ่มงานมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ให้การดูแลระยะก่อนถึงโรงพยาบาลและในโรงพยาบาล
เป็นต้นแบบทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินของประเทศไทย
ร่วมผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข
ผลิตและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่สู่สาธารณชน
ในการนี้
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลขอนแก่นจึงได้กําหนดพันธกิจของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญใน
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในการผลิต แพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ
มีสมรรถนะที่เหมาะสมต่อความต้องการของทั้งประชาชนและระบบบริบาลสุขภาพที่อาจมี
โอกาสเปลี่ยนแปลงในอนาคต ดังนี้
1. ผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่มีความรู้ทักษะ คุณธรรมและจริยธรรม
โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็น
กิจที่หนึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินของ แพทยสภา ทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ
สามารถให้บริการทางวิชาการ
การศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงสร้าง งานวิจัยและนวัตกรรมด้านเวชกรรมฉุกเฉิน
โดยจัดให้ผู้รับการฝึกอบรมมีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ
เรียนรู้เชิงรุก (Active learning) โดยมีผู้รับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง
ในสถานพยาบาลหรือแหล่งให้การศึกษา และฝึกอบรมทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองความขาดแคลน
ความจําเป็นในการบริบาลเวชกรรมฉุกเฉินของรัฐ อัน จะเป็นประโยชนน์ต่อการแก้ปัญหาด้านเวชกรรมฉุกเฉินของประชาชนและสังคมไทย
2. เพิ่มการผลิตแพทย์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบบริบาลสุขภาพของรัฐ ให้เป็นอาจารย์แพทย์ในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกหรือแหล่งฝึกอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นหลัก
ที่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในระบบบริบาล สุขภาพ ระบบบริหารจัดการภาครัฐ
สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานในระบบบริบาลสุขภาพอย่างมีความสุข และยั่งยืน
|
|
|
|
|
|
การเรียนการสอนระหว่างการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน |
|
|
|
สำหรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
จะมีช่วงเวลาที่ต้องเรียนรู้ภาวะฉุกเฉินของแต่ละภาควิชา เช่น
ในปีที่ 1
จะต้องผ่านวิชาหลัก ได้แก่ ผู้ป่วยวิกฤตอายุรศาสตร์ (ICU med)
ผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์ (ICU surg) cardiac care unit (CCU)
วิกฤตกุมารเวชศาสตร์ (PICU and NICU) โดยระยะเวลาการเรียนแต่ละวิชา
ขึ้นตามหลักสูตรของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ส่วนในปีที่ 2 และ 3 ต้องผ่านวิชาบังคับ และวิชาเลือก ซึ่งประกอบด้วย emergency
medical system, trauma, หู คอ จมูก, จักษุวิทยา,
รังสีวิทยา,
จิตเวชศาสตร์ เป็นต้น
โดยจะมีช่วงเวลาที่แพทย์ได้ขอเลือกฝึกปฏิบัติงานต่างสถาบันได้
โดยให้แพทย์มีอิสระในการเลือกสถาบันที่ต้องการฝึกงานได้ตามต้องการ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ในการทำงานให้กว้างไกลมากขึ้น
|
|
|
|
|
|
|
|
กิจกรรมวิชาการ ได้จัดให้มีการเรียนการสอน 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเป็น regular conference โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ ประกอบด้วย อาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้านทั้ง 3 ชั้นปี แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (intern) และนักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่ 6 (extern) จากสถาบันต่างๆ อีกทั้งยังมีแพทย์ประจำบ้านที่มาฝึกงานงานจากสถาบันต่างๆ
เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย
วันอังคาร เช้า : มีการทำ
dead case coference (english version) โดยมีการนำเสนอและ discussion
เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมี morbidy and mortality conference,
emergency topic, staff lecture และ journal club อีกด้วย
วันพุธ เช้า : กิจกรรมวิชาการในนี้จะจัดให้แก่ นักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่ 6 (extern) วันพฤหัสเช้า : ten minutes talk, topic EMS, interesting case, emergency procedure และจัดให้มี simulation โดยฝึกปฏิบัติการกับหุ่น
โดยจำลองสถานการณ์ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านได้ฝึกแก้ปัญหาและเป็นการทบทวนก่อนเตรียมตัวสอบวุฒิบัตรเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
และฝึกให้มีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยจริง
นอกจากนี้นังมีการฝึก scenario in situ ทุก 2 เดือน ร่วมกับทีมพยาบาล paramedic และเจ้าพนักงานกู้ชีพ |
|
|
|
กิจกรรมระหว่างการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน |
|
|
|
|
|
การฝึก simulation ของแพทย์ประจำบ้านเพื่อเพิ่มทักษะในการทำหัตถการกับหุ่นจำลองในห้อง training |
|
|
|
|
|
scenario
in situ เหตุการณ์จำลองผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล
|
|
|
|
|
|
|
|
interhospital conference |
|
|
|
|
|
|
|
นอกจากการเรียนและฝึกทักษะเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลแล้ว
ยังมีกิจกรรมนอกโรงพยาบาล หรือ Pre-hospital care เช่น
การออกเหตุรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน
ซึ่งในแต่ละเวรที่ขึ้นปฏิบัติงานจะมีการออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุด้วย
โดยทีมที่ออกปฏิบัติการกู้ชีพขั้นสูง ประกอบด้วย แพทย์ฉุกเฉิน
พยาบาลกู้ชีพ และ EMT
ส่วนทักษะอื่นนอกโรงพยาบาลเช่นการซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่เหตุสาธารณภัยแผนก่อการร้าย
ซึ่งแพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีจะมีส่วนร่วมในการซ้อมร่วมกับอาจารย์แพทย์
พยาบาลละเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆในจังหวัดที่เกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากทักษะเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม
|
|
|
|
|
|
FAQ |
|
|
|
|
|
|
|
ทำไมต้องเรียนมาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ? |
|
|
|
|
|
การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินต้องใช้ความรู้ในการวินิจฉัยและการตัดสินใจให้การรักษาอย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤตของชีวิต มีโอกาสได้ทบทวนความรู้ของทุกภาควิชาอยู่ตลอด
ช่วงระหว่างการเรียนอีอาร์มีจุดเด่นมากมาย เช่น ไม่ต้องราวด์วอร์ดนานๆ ทำงานเป็นเวลา ไม่ต้องสรุปชาร์ท สาขานี้เป็นสาขาที่ขาดแคลน
สามารถเริ่มเรียนได้เลยหลังจากจบ extern แล้ว เรียนได้เร็ว
จบไว นอกจากนี้ยังต้องตื่นตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เสมอ |
|
|
|
|
|
ทำไมถึงต้องเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ? |
|
|
|
|
|
อีอาร์ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นมีเคสให้เรียนเยอะและหลากหลาย
มากกว่าในโรงเรียนแพทย์ มีระบบการบริหารจัดการในห้องฉุกเฉินถูกออกแบบมาดีและผ่านการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เป็นระยะเวลานาน มีอาจารย์แพทย์ประจำมีทั้งหมด 7 ท่าน และมีอาจารย์แพทย์ต่างแผนกช่วยกันอยู่เวรนอกเวลาราชการทำงานร่วมกับแพทย์ประจำบ้านและอยู่ ให้คำปรึกษาตลอด
24 ชั่วโมง
จึงเป็นข้อดีที่สามารถได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ การเรียนการสอนจึงเน้นเรียนจากการปฏิบัติ (patient base) มากกว่า ช่วงใกล้สอบ อาจารย์แพทย์ก็จะมีจัดติวสอบให้ เนื่องจากเป็นสถาบันกึ่งโรงเรียนแพทย์ ความรู้ทางทฤษฏีอาจต้องขวนขวายด้วยตัวเองบ้าง
ทุกวันอังคารเป็นวันที่มีกิจกรรมวิชาการ มีเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ
มีจำลองสถานการณ์ต่างๆด้วย โดยรวมแล้วถือว่าสนุกและได้ความรู้โดยที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป ส่วน อาจารย์แพทย์ ใจดีเป็นกันเอง ส่วนพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆส่วนใหญ่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
ปัญหากระทบกระทั่งบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ปัญหาใหญ่ๆไม่ค่อยมี |
|
|
|
|
|
ที่พักและสวัสดิการเป็นอย่างไรบ้าง ? |
|
|
|
|
|
มีหอพักสำหรับแพทย์ประจำบ้านในโรงพยาบาล
ผู้หญิงได้รับ priority ก่อน หากหอพักในโรงพยาบาลเต็ม
มีหอนอกอยู่รอบๆโรงพยาบาล หาไม่ยาก
ราคามีหลากหลายให้เลือก โดยที่ทางโรงพยาบาลจะจ่ายให้เดือนละ 1400 บาท ข้อเสียที่เหมือนๆกันทุกที่
คือไม่ค่อยมีที่จอดรถ
เวลาทำงานมื้อเย็นจะมีข้าวกล่องให้
ร้านอาหารในโรงพยาบาลยังถือว่าไม่เลว ราคาไม่แพง ค่าตอบแทนที่ได้
หากเป็นมีต้นสังกัด ได้รับเงินเดือน
หากเป็นระบบ free
training จะได้รับเงินจากโรงพยาบาลตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวและได้เงินเวรตามจำนวนเวรที่อยู่ (ไม่เหมาจ่าย) ได้ว่าค่าเวร 1100/เวร เมื่อรวมกับเงินเดือนก็อยู่ได้แบบสบาย |
|
update ; 31 สิงหาคม 2561
|
|
|
|
|
|
คู่มือแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินปี 2560 pdf
|
|
รายนามศิษย์เก่าแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น คลิก |
|
|
|
|
|
|
|
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลขอนแก่น ชั้น 5 อาคารสิรินธร เลขที่ 54-56 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
|
|
|
|
|